วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไก่ทอดสไปซี่ชีส & ชีสบอลทอดด homemade

              สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะเสนอวิธีทำไก่ทอดสไปซี่ชีส ชีสบอลทอดhomemadeกันนะคะ เป็นเมนูที่ทุกคนก็อยากจะลิ้มลองกัน และที่สำคัญคือ ประหยัดงบ!!! งั้นไปดูวิธีทำกันเลยค่ะ





ก่อนอื่นนะคะมาเตรียมอุปกรณ์ในครัวกันเลย

1.กะทะ
2.ตะหลิ้ว
3.จาน
4.กระดาษซับมัน

ต่อมาก็เตรียมวัตถุดิบ


1.เกล็ดขนมปัง
2.น้ำมัน
3.น้ำปลา
4.น้ำมันหอย
5.แป้งกระกอบอาหาร
6.ซีอิ้ว
7.ผงปาปิก้า
8.ชีสแบบ Mozzarella
9.ชีสซอส
10.ปีกไก่หรือน่องไก่ชิ้นเล็ก
11.ไข่ 2ฟอง
12.นมจืด

เตรียมอุปกรณ์กันพร้อมแล้วใช่ไหมงั้นเรามาเริ่มทำกันเลย

1.นำไก่ไปล้างให้สะอาดแล้วนำไปหมัก ใส่น้ำมันหอย 1ช้อน น้ำปลา ครึ่งช้อน และซีอิ๊ว ครึ่งช้อน


2.นำชีสมาหันเป็นชิ้นๆ พอดีคำ


3.ตีไข่ใส่ถ้วย ใส่แป้งประกอบอาหาร และใส่นมจืด คนให้เข้ากันให้มีความรู้สึกนืดๆ และแยกอีกถ้วยนึงเป็นเกล็ดขนมปัง


4.คุ๊กไก่และชีสลงในแป้งที่เตรียมไว้ทั่วแล้วนำไปคุ๊กในเกล็ดขนมปังถ้าอยากได้หนาๆก็ทำซ้ำๆ



5.ใส่น้ำมันลงในกะทะร้อน รอจนน้ำมันเดือด


6.ใส่ไก่หรือชีสก่อนก็ได้ลงในน้ำมันเดือด กลับไปมา พอเหลืองได้ที่ก็นำขึ้น ใส่ในจานและซับน้ำมันออก


แค่นี้ก็เสร็จแล้ว

ไก่ทอด เติมผงปาปิก้าอีกนิดก็อร่อยแล้วค่ะ

ชีสบอล

แค่นี้ก็เสร็จแล้วค่ะ แต่!!ถ้ายังไม่สะใจสามารถเพิ่มชีสได้

  • นำชีสที่เหลือมาหันเป็นชิ้นๆ จากนั้นก็นำไปเวป 10-15 วินาที



น่ากินใช่ไหมค่ะ นำไปพันกับไก่ทอดได้เลย


แค่นี้ก็ฟินกับไก่ทอดสไปซี่ชีส และชีสบอลได้เลย >..<




วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

review การใช้งานอินสตาแกรม

สวัสดีคะ เราจะมารีวิวการใช้งาน Instagram กันนะคะ สำหรับเพื่อนๆที่ชอบท่องโลกโซเชียลก็คงรูจักโปรแกรมนี้กันดี 



Instagram (อินสตาแกรม) คือ แอพพลิเคชั่นถ่ายภาพและแต่งภาพบนสมาร์ทโฟน ที่มาพร้อมกับลูกเล่นการแต่งเติมสีสันให้กับรูปภาพด้วย Filters (ฟิลเตอร์) ต่าง ๆ ที่ให้เราสามารถเลือกปรับภาพได้หลากหลายและสวยงาม  แนวอาร์ต ๆ ได้ตามใจชอบทั้งในเรื่องของ สี แสง เรียกได้ว่าสามารถปรับอารมณ์ของรูปภาพได้ตามต้องการ และสามารถแชร์รูปภาพสวย ๆ อวดเพื่อน ๆ ที่อยู่ในสังคมออนไลน์อื่น ๆ เช่น Twitter, Facebook, Tumblr และ Foursquare เป็นต้น และในตัว Instagram เองก็เป็นสังคมออนไลน์การแบ่งปันภาพถ่าย (Social Photo Sharing) เพราะ Instagram มีระบบ Followers และ Following ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกติดตามชมรูปภาพ ความเคลื่อนไหวการใช้งานของเพื่อน ๆ ที่ใช้งานแอพพลิเคชั่นหากถูกใจ ชอบรูปภาพไหน สามารถกด Like รวมไปถึง Comment รูปภาพนั้นได้



> ถ่ายภาพและแต่งภาพด้วยด้วย Filters (ฟิลเตอร์) หลากสีสัน 20 แบบ

 >ถ่ายภาพพร้อมเลือกฟิลเตอร์แบบเรียลไทม์ (Live Filter เลือกฟิลเตอร์ได้ขณะกำลังถ่ายภาพ ไม่ต้องใส่ทีหลัง)

> เครื่องมือแต่งภาพ เช่น หมุนภาพ, ใส่กรอบภาพ, เพิ่มแสงให้กับภาพและเบลอภาพ (Tilt-Shift ) เฉพาะส่วนที่ต้องการได้

> แชร์รูปภาพไปยังเว็บสังคมออนไลน์ได้ เช่น Facebook, Twitter, Tumblr, Flickr และ Foursqure 

> อัพโหลดรูปภาพได้ไม่จำกัด 

> มีระบบ Followers และ Following เลือกติดตามบุคคลที่ต้องการได้ 

> สามารถ Comment และกด Like รูปภาพที่ชื่นชอบได้

> ระบุตำแหน่งที่ถ่ายภาพและแสดงบนแผนที่ (Photo Maps)
>
 Instagram เป็นแอพพลิเคชั่นฟรี 100%



อ้างอิงhttp://instagram.kapook.com/view58987.html


วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะเพื่อนๆคงอยากรู้ใช่ไหมค่ะว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร?ทั้งๆที่เราก็ใช้คอมพิวเตอร์กันทุกคน แต่เราไม่รู้ความหมายของมัน และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร? เพื่อนคงสงสัยกันใช่ไหมค่ะงั้นเรามาดูกันเลย


ความหมายของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"


ขอบคุณภาพจาก http://www.jinan.co.th/computer.html


คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ 
การทำงานของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output   ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ 



ขอบคุณภาพจาก http://www.jinan.co.th/computer.html

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์




1.ความหมาย และความเป็นมาของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์




ขอบคุณภาพจาก http://www.thaigoodview.com/node/32685

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)
ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง


ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

        1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ 
ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก
2. เครือข่ายระดับเมื่อง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน 
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย 
มากกว่า 1 แสนจุด

3.องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง


 ส่วนประกอบของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภทตามหน้าที่ของโหนด คือ

    1. เครือข่ายส่วนย่อยของผู้ใช้ (User Subnetwork) ประกอบด้วยโฮสต์คอมพิวเตอร์ 
(Host Computer) หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และ เทอร์มินัลคอนโทรลเลอร์ (Terminal Controller) หรือส่วนควบคุมปลายทาง ซึ่งในการทำงานระบบนี้ คอมพิวเตอร์จะทำงานช้ามาก เพราะต้องรอ
การประมวลผลจากศูนย์กลางในการใช้งาน
2. เครือข่ายย่อยส่วนของการสื่อสาร (Communication Subnetwork) เป็นการติดต่อสื่อสารกันผ่านสายส่ง เพื่อส่งสารข้อมูลจากต้นทางไปถึงปลายทาง โดยผ่านทางสายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น


อ้างอิง
http://www.jinan.co.th/computer.html
http://www.thaigoodview.com/node/32685

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

O-NET คอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ เพื่อนคงรู้จักโอเนตกันดี ที่เคยผ่านกันมาแล้วตั้งแต่ป.6 แต่พอมาถึงม.6ก็ต้องสอบกันอีก ยิ่งวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อนๆอาจจะไม่รู้แนวข้อสอบ งั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

ขอบคุณรูปจาก http://ce3th.blogspot.com/p/o-net.html

1. รูปนี้เป็นหัวเชื่อมต่อประเภทใด และใช้สําหรับงานประเภทใด  ( ปี 2553 )

   1. VGA ใช่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับจอแสดงผล
   2. DVI ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับจอแสดงผล
   3. USB ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เสริม
   4. FireWire ใช้ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์เสริม
เฉลย 1
วิเคราะห์ ในรูปคือ วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)สีน้ำเงิน พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์

2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ระบบปฏบิัติการคอมพวเตอรพิวเตอร์ ( ปี 2553 )
    1. Microsoft Windows
    2. Ubuntu
    3. Symbian
    4. MAC Address
เฉลย 4
วิเคราะห์ 1. Microsoft Windows เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก
2. Ubuntu เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน
3. Symbian เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ พัฒนาโดยบริษัท Symbian Ltd
4. MAC Address คือ หมายเลขของ Network Card (LAN , Wireless LAN) ซึ่งหมายเลขจะไม่ซ้ำกัน โดยค่าหมายเลขนี้จะถูกกำหนดค่ามาจากโรงงานที่ผลิต Network Card

3. ซอฟตแวร์ใดมีจุดประสงค์หลักเพื่อนำมาใช้ในงานพิมพ์เอกสาร
   1. ซอฟต์แวร์กราฟิก
   2. ซอฟต์แวร์นำเสนอ
   3. ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
   4. ซอฟต์แวร์ตารางคำนวณ
เฉลย 3
วิเคราะห์
- ซอฟต์แวร์กราฟิก เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างภาพ การวาด การเขียน การระบายสี หรือตกแต่งภาพด้วยวิธีการต่าง ๆ ซอฟต์แวร์กราฟิก เช่น โฟโตชอป เพนต์บรัช เพนต์ชอป
- ซอฟต์แวร์นำเสนอเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่ดึงดูดความสนใจ สื่อความหมายได้ชัดเจน เข้าใจง่าย โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ คำนวณ และสร้างแผนภูมิ เป็นต้น ซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น โปรแกรมพรีเซนเทชั่น โปรแกรมพาวเวอร์พ้อยต์ โปรแกรมบราวเซอร์
- ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ
- ซอฟต์แวร์ตารางทำงานเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน

4. ความละเอียดของจอภาพสามารถบอกได้ด้วยปัจจัยในข้อใด ( ปี 2550 )
   1. CRT
   2. Dot pitch
   3. Refresh rate
   4. Color quality
เฉลย 2
วิเคราะห์
Dot pitch คือระยะห่างระหว่างพิกเซล หรือระยะห่างระหว่างจุดสี ถ้าระยะห่างน้อย ด็อดพิชมีขนาดเล็ก ภาพจะคมชัดยิ่งขึ้น โดยปกติความละเอียดจะอยู่ที่ประมาณ 0.25 mm ถึง 0.4 mm

5. อุปกรณ์ชนิดใดต่อไปนี้ไม่สามารถเก็บแฟ้มภาพขนาด 144 เมกะไบตได้ ( ปี 2551 )
   1. แผ่นดีวีดี
   2. แผ่นดิสเก็ต
   3. แผ่นซีดีอาร์
   4. แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว
เฉลย 2
วิเคราะห์
แผ่นดีวีดี สามารถจุข้อมูลได้ 4.7 GB
แผ่นดิสเก็ต หรือ แผ่นดิสก์ มีความจุในการเก็บข้อมูลน้อยกว่าเท่ากับ 1.44 MB
แผ่นซีดีอาร์ และแผ่นซีดีอาร์ดับบลิว สามารถจุข้อมูลได้ 700 MB


อ้างอิง
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1470.0
http://ict.scphc.ac.th/?p=512
https://th.wikipedia.org
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=173198732767483&id=148507738580909
https://www.gotoknow.org/posts/482544
http://www.krumontree.com/ebook3/page/Lesson5_5_3.htm
http://krubpk.com/com_1/Content/Unit11.htm

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมาของบราวนี่

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาเล่าประวัติความเป็นมาของบราวนี่กันน่ะค่ะ หลายคนคงรู้จักกันดีกับขนมที่มีชื่อว่า "บราวนี่" แต่หลายคนคงไม่รู้ว่าบราวนี่นี้มีความเป็นมายังไง งั้นวันนี้เราจะมาเล่าประวัติให้ฟังน่ะค่ะ

ขอบคุณภาพจาก http://pracob.blogspot.com/2013/07/brownie-chocolate-brownie.html

ช็อกโกแลตบราวนี่ มีลักษณะแบนแบบสี่เหลี่ยมหรือบาร์ที่ถูกนำไปอบเริ่มพัฒนาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาตอนปลายศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ชื่นชอบทั้งในสหรัฐและแคนาดา ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บราวนี่เป็นลูกครึ่งระหว่างเค้กและcookie บราวนี่ถูกผลิตมาในรูปแบบต่างๆ บางครั้งก็มีความหนึบหรือ เป็นเนื้อเค้กขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและอาจจะมีส่วนผสมของถั่วชนิดต่างๆ, เคลือบน้ำตาล, วิปครีม, ช็อกโกแลตชิพ, หรือส่วนผสมอื่นๆ อาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการทำเช่น ใช้น้ำตาลแดงและไม่ใส่ช็อคโกแลต โดยจะเรียกว่าบลอนดี้.บราวนี่มักจะเป็นส่วนหนึ่งของกล่องอาหารกลางวัน เพราะสามารถใช้มือจับทานได้สะดวกและมักจะทานร่วมกับนมหรือกาแฟ บางครั้งก็เสิร์ฟแบบอุ่นๆ กับไอศครีม (อาลาโมด)ราดหน้าด้วยวิปครีมหรือมาร์ซิแพนหรือโรยด้วยผงน้ำตาลป่น บราวนี่เป็นที่นิยมอย่างมากในร้านอาหารทั่วไป ถูกพบมากอย่างหลากหลายในเมนูของหวาน

มีตำนานเกี่ยวกับบราวนี่ได้กล่าวไว้ว่า
มีตำนานอยู่ 3 เรื่องเกี่ยวกับที่มาของบราวนี่ ตำนานแรกกล่าวว่า พ่อครัวได้ใส่ช็อคโกแลตละลายลงในก้อนแป้งบิสกิตโดยไม่ได้ตั้งใจ ตำนานที่สองกล่าวว่า พ่อครัวลืมเติมแป้งเข้าไปในส่วนผสมของที่ตีรวมกันแล้ว และตำนานที่สามที่เป็นความเชื่อที่เป็นที่นิยมคือ แม่บ้านคนหนึ่งไม่มีผงฟูเลยดัดแปลงสูตรใหม่ ว่ากันว่าเธอเตรียมของหวานสำหรับแขกและตัดสินใจที่จะเสิร์ฟเค้กแบนๆที่อบแล้วนี้ ตำนานทั้งสามเรื่องเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 



ขอบคุณภาพจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88


ประวัติ

พ่อครัวคนหนึ่งในโรงแรมพาล์มเมอร์เฮาส์ที่ชิคาโกได้คิดขนมขึ้นมาชนิดหนึ่ง จากที่เบอร์ธา พาล์มเมอร์อยากจะได้ของหวานสำหรับสุภาพสตรีที่มาเข้าร่วมในงานแสดงสินค้านานาชาติที่ชิคาโกในปี ค.ศ. 1893 เธอบอกว่า ของหวานนั้นน่าจะต้องมีขนาดเล็กกว่าเค้ก แต่ก็ต้องยังคงมีลักษณะคล้ายเค้กและสามารถรับประทานได้ง่ายโดยจะบรรจุในกล่องอาหารกลางวัน บราวนี่ชนิดแรกที่ว่านี้มีส่วนผสมของแอปปริคอทโรยหน้าและวอลนัทและ ปัจจุบัน ที่โรงแรมก็ยังทำบราวนี่ตามสูตรดั้งเดิมขายอยู่สูตรบราวนี่ที่ทำกันในปัจจุบันที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือการปรุงอาหารในบ้าน (ปี 1904, ลาโคเนีย, นิวแฮมเชียร์), หนังสือตำราอาหารของสโมสรบริการ (1904, ชิคาโก, อิลินอยส์), เดอะบอสตันโกลบ (2 เมษายน 1905 หน้า 34),และตำราอาหารของโรงเรียนสอนการทำอาหารบอสตันฉบับที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1906 เขียนโดยแฟนนี่ เมอร์ริท ฟาร์มเมอร์ สูตรอาหารเหล่านี้เป็นบราวนี่ที่มีรสชาติค่อนข้างนุ่มนวลและมีลักษณะคล้ายๆ เค้ก ชื่อของ"บราวนี่"เกิดขึ้นครั้งแรงในตำราอาหารที่ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1896 แต่ถูกกล่าวถึงในรูปของเค้กที่ทำจากกากน้ำตาลในแม่พิมพ์ดีบุกไม่ใช่บราวนี่จริงๆสูตรอาหารที่สองถูกพบเมื่อปี ค.ศ. 907 ในตำราอาหารของลอว์นี่เขียนโดยมาเรีย วิลเลท โฮเวิร์ดตีพิมพ์โดยบริษัท วอลเตอร์ เอ็ม ลอว์นี่แห่งบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สูตรนี้มีการเพิ่มไข่และแท่งช็อกโกแลตลงในสูตรของโรงเรียนสอนการทำอาหารบอสตันทำให้บราวนี่มีรสชาติเข้มข้นและหนึบมากขึ้น สูตรนี้มีชื่อว่า แบงกอร์บราวนี่ ซึ่งอาจมาจากเหตุผลที่ว่าสูตรนี้ สุภาพสตรีชาวแบงกอร์ รัฐเมน แบงกอร์บราวนี่ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 3 จาก 10 สุดยอดอาหารว่างใน 2-3 ปีต่อมา


อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ ทุกคนคงอยากรู้ใช่ไหมคะว่า javaคืออะไร? และภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

งั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะ!!

ขอบคุณรูปจาก http://www.thaicreate.com/java/java-what-is-java.html

javaคืออะไร?

 Java เป็นโปรแกรมภาษาที่ถูกพัฒนามาเพื่อรองรับการออกแบบซอฟแวร์ที่มีการเชื่อมโยง Internet อีกทั้งยังเป็นโปรแกรมที่สนับสนุนแนวความคิดของการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ หรือที่รู้จักกันดีที่เรียกว่า OOP (Object-Oriented Programming) โดยมีความสามารถเฉพาะตัวต่างจากโปรแกรมภาษาชั้นสูง อื่น ๆ เช่น หรือ C++ ในเรื่องของการทำงานข้ามระบบปฏิบัติการ หรือ Platform ได้โดยไม่ต้องมีการ compile ใหม่

            โปรแกรมที่ถูกพัฒนาด้วยภาษา Java ถูกแบ่งเป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ
1.       Java Application – โปรแกรม Java ทั่ว ๆ ไป ที่ทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง (Stand Alone Application)
2.       Java Applet – โปรแกรม Java ที่ถูกนำไปใช้บน Internet เท่านั้น

ทำไมเราถึงต้องเลือก java

ทำงานอิสระ (Platform Independent)

            มีผู้กล่าวไว้ว่า Java เกิดมาเพื่อการทำงานบน WWW นั่นหมายความว่า Browser จะทำการ download โปรแกรมจาวาจาก server มาทำงานบนโดยตรงอยู่บนเครื่องของผู้เรียกเว็บเพ็จได้เลย โดยไม่คำนึงว่า ระบบปฏิบัติการของผู้ใช้ จะเป็นระบบเดียวกันกับ server ที่ใช้ compile จาวาหรือไม่
ทั้งนี้ ข้อดีของการ Download โปรแกรมมาใช้งานบนเครื่องของผู้ใช้ก็คือ สามารถลดเวลาในการโหลดโปรแกรมมาจาก server ทุกครั้งที่มีการสั่งการ หรือ Interactive ระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมจาวา จึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับโปรแกรมจาวาบน Internet เป็นอย่างมาก

ความง่ายของตัวภาษา

            หลักไวยากรณ์ของ Java มีความคล้ายคลึงกับภาษา และ C++ เป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่เหมือนกับภาษาใหม่อื่น ๆ ที่ต้องมาเริ่มศึกษาไวยากรณ์กันทั้งหมด อีกทั้งยังตัดความยากหรือความซับซ้อนต่าง ๆ ของภาษา C และ C++ ออกไป โดยใช้หลักการของ Object-Oriented Programmingมาแทนที่มากขึ้น จึงทำให้การพัฒนาในเรื่องของหน้าจอ (Interface) ไม่ใช่เรื่องที่ยาก (จะเห็นจากการนำจาวามาพัฒนาในเรื่องของ Animation และ อื่น ๆ ซึ่งจะกล่าวในบทถัด ๆ ไป)

ความปลอดภัย (Security)

            นั่นคือ เมื่อต้องมีการถูก Download ไปใช้อยู่ในที่ต่าง ๆ ภาษาจาวาจึงมีการกำหนดข้อจำกัดบางอย่างขึ้น เพื่อไม่ให้การรันโปรแกรมนั้น ๆ ไปก่อให้เกิดความเสียหายบนเครื่องของผู้ใช้ได้ ดังนั้นจึงสามารถลืมบรรดา Hacker ทั้งหลายที่รักการเขียนโปรแกรมก่อกวนไปได้ในระดับหนึ่ง


ขอบคุณรูปจาก http://zom-thum.blogspot.com/

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คืออะไร?

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำคัญคือหากไม่มีภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากขาดชุดคำสั่งในการทำงาน คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้จะต้องมีการเขียนโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานโปรแกรมต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมานั้น จะต้องเขียนไปตามกฎเกณฑ์ของภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างภาษาเช่น
ภาษาซี (C Language) ภาษาซี เป็นภาษาที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมมาก เป็นภาษาระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานใกล้เคียงกับภาษาแอสแซมเบลอร์ เริ่มแรกการพัฒนาภาษาซีใช้เพื่อเขียนซอฟต์แวร์ระบบ แต่ปัจจุบัน สามารถใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ระบบการจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมทางธุรกิจ โปรแกรมสำเร็จรูป และสามารถสร้างกราฟิกได้ ข้อดีของภาษานี้ คือ ทำงานได้เร็วมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท โดยมีการคอมไพล์ใหม่ แต่ไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมอย่างใด ส่วน ข้อเสีย คือ ยากที่จะเรียนรู้มากกว่าภาษาอื่น เนื่องจากลักษณะคำสั่งไม่มีรูปแบบที่แน่นอน และ ตรวจสอบโปรแกรมได้ยาก ไม่เหมาะจะใช้สร้างโปรแกรมที่ต้องมีการออกรายงานที่มีรูปแบบที่ ซับซ้อนมาก ๆ
รูปแบบ โครงสร้างและการใช้งานภาษาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะประกอบด้วยโครงสร้างหรือรูปแบบการทำงานที่เป็นโครงสร้างตรรกะเชิงควบคุม โดยมีโครงสร้างของคำสั่งที่คล้ายกันทั่วไปทุกคำสั่งจะมีคำสั่งพื้นฐานต่อไปนี้ 1. คำสั่งการรับข้อมูลเข้า และการแสดงผล 2. คำสั่งการกำหนดค่า 3. คำสั่งการเปรียบเทียบเงื่อนไข 4. คำสั่งการทำซ้ำหรือการวนลูป
โปรแกรมในภาษาซี จะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย 1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ 2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัว ที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number 3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้ ภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษาจะมีข้อดี ข้อจำกัดและความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นในการพัฒนาโปรแกรมจึงต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่ต้องการทำและภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม มีการคิดค้นขึ้นมาหลายภาษา เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานในแต่ละแบบ -Pascal เหมาะสำหรับ การพัฒนาโปรแกรมเชิงวิทยาศาตร์ในระดับกลาง และ application ต่างๆ -Basic เหมาะสำหรับการฝึก programming กับโปรแกรมที่ไม่มีความซับซ้อนมาก -Cobol เหมาะสำหรับ การสร้างโปรแกรมทางธุระกิจที่กระชับสำหรับระบบทางธุระกิจ( ภาษานี้เป็นต้นเหตุของ y2k bug เพราะมีการนำไปใช้ในการย่อ วันที่) -Fortran เหมาะสำหรับ การ programming การคำนวณต่างๆทางคณิตศาตร์ -C เหมาะสำหรับ การเขียนที่ต้องการความรวดเร็ว เล็ก และมีประสิทธิภาพ มีลักษณะเด่นคือสามารถติดต่อกับระดับ hardware ได้มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากที่สุดรองจาก asmbly


 อ้างอิงจาก
http://nwannika.tripod.com/java/Chapter1.htm
https://kroobee.wordpress.com/2010/09/16/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

social network กับนักเรียนและสังคมไทย

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย
สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาแนะนำการใช้โซเชียลของคนในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนก็น่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ลองไปอ่านกันเลยยยยยยย....
           ในปัจจุบันนี้สังคมไทยของเรานั้น ได้ก้าวหน้าไปไกลมาก กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จากการแชร์ แบ่งปัน ติดต่อ ผ่านทาง Social Network เช่น Facebook, twitter, tumblr, หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง pantip ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมาพบปะสังสรรค์ ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล หรือ ข่าวสาร สื่อเหล่านี้ทำให้สังคมของเรากว้างขว้าง และเข้าถึงได้มากกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งมีข้อดีหลากหลายประการ ไม่เพียงแต่มีข้อดีเท่านั้น หากผู้ที่ใช้ ใช้ไปในทางที่ไม่ดี หรือ ไม่ถูกต้อง ก็สามารถก่อให้เกิดโทษได้อีกเช่นกัน


           สำหรับนักเรียนก็เช่นกัน Social Network ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว หรือแบ่งปันสิ่งดีๆ ผ่าน Social เหล่านี้ เพื่อเผยแพร่สิ่งดีๆ ที่ต้องการให้ทราบ หรือ ให้ข้อมูล เช่น แชร์ตารางสอบ GAT/PAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6กำหนดการระเบียบการต่างๆ ของมหาลัยในด้านการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีหรือแม้กระทั่ง การแชร์สรุปเนื้อหา วิชาต่างๆ เพื่อใช้ในการเตรียมสอบ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว social network ที่มีต่อนักเรียนไทย อย่างเราๆ ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น การติดต่อกับครูที่ปรึกษา หรือ ติวเตอร์ ในการสอบถามรายละเอียดต่างๆ หรือ ปรึกษาเกี่ยวกับบทเรียนที่นักเรียนนั้น ไม่เข้าใจ ซึ่งการใช้สื่อต่างๆ เหล่านี้ สามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และค่อนข้างสะดวกต่อทั้งสองฝ่าย

           จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้กล่าวถึงข้อดีของ social network เป็นส่วนมาก เรามาดู ข้อเสียของsocial network กันบ้างดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง (ข้อมูลมาจาก ผลกระทบในแง่ลบของการใช้โซเชียลมีเดีย ต่อสังคม ตัวบุคคล’ – จาก http://smallbusiness.chron.com/negative-effect-social-media-society-individuals-27617.html)
1.    ขาดเซนส์ในการสร้างความสัมพันธ์ เช่น การที่เราใช้เวลาอยู่กับ social network ต่างๆ มากเกินไปทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นเพื่อนดี หรือไม่ใครเป็นเพื่อนที่ไม่ดี เพราะเราต่างก็ไม่เคยพบปะ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนในชีวิตจริง นั่นจึงทำให้ความสำคัญ หรือ ความน่าเชื่อถือนั้นลดน้อยลง หรือไม่มีคุณค่าต่อความสัมพันธ์เท่าที่ควร
2.    การกลั่นแกล้งกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Cyber-bullying) ปัญหานี้พบมากในเด็ก การกลั่นแกล้งกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันคือ การแบล็คเมล์ นั่นเอง จากที่พูดมามันก็คือ การที่ถูกประทุษร้าย หรือถูกทำให้เป็นที่น่าอับอายทางสังคม โดยใช้สื่อเป็นตัวกระทำ อย่างเช่น อีเมล์การส่งข้อความเว็บไซต์หรือบล็อก เป็นต้น จนในที่สุดการกระทำโดยใช้สื่อเหล่านี้ นำมาซึ่งปัญหาการฆ่าตัวตายของผู้ที่ถูกแบล็คเมล์ โดยเฉพาะในวัยของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก (ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ‘Cyberbullying คืออะไร?’ – จากhttp://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying)
3.    คุณภาพของงานนั้นลดลง จากการสำรวจ ส่วนมากแล้วพบว่า พนักงานในบริษัทนั้นมีการเล่น social network ในขณะทำงานมากขึ้นจากแต่ก่อน ทำให้พวกเขาไม่สนใจในสิ่งที่กำลังทำ ส่งผลให้คุณภาพของงานที่ได้นั้น แย่ลงมากจากแต่ก่อน
4.    ความเป็นส่วนตัว เมื่อมีการเข้าถึง social network การเข้าถึง การเชื่อมต่อ ต่างๆ ก็ทำให้ความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลนั้นลงลด เนื่องจากมีการเชื่อมต่อ เข้าถึงสิ่งต่างๆ ของตัวบุคคลได้ง่ายๆ ผ่านทาง social network เช่น ข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น นั่นจึงทำให้ความเป็นส่วนตัวของแต่ละคนนั้นลดลง